วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2559

           ความหมายมลพิษทางอากาศ


          มลพิษทางอากาศ หมายถึง ภาวะอากาศที่มีสารเจือปนอยู่ในปริมาณที่สูงกว่าระดับปกติเป็นเวลา นานพอที่จะทำให้เกิดอันตรายแก่มนุษย์ สัตว์ พืช หรือทรัพย์สินต่าง ๆ อาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ฝุ่นละอองจากลมพายุ ภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว ไฟไหม้ป่า ก๊าซธรรมชาติอากาศเสียที่เกิดขึ้น โดยธรรมชาติเป็นอันตรายต่อมนุษย์น้อยมาก เพราะแหล่งกำเนิดอยู่ไกลและปริมาณที่เข้าสู่สภาพแวดล้อมของมนุษย์และสัตว์มีน้อย กรณีที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ได้แก่ มลพิษจากท่อไอเสีย ของรถยนต์จากโรงงานอุตสาหกรรมจากขบวนการผลิตจากกิจกรรมด้านการเกษตรจากการระเหย ของก๊าซบางชนิด ซึ่งเกิดจากขยะมูลฝอยและของเสีย เป็นต้น


ประเภทมลพิษทางอากาศ
มลพิษทางอากาศอาจจำแนกออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภท
1. อนุภาคต่าง ๆ อนุภาคที่ล่องลอยอยู่ในอากาศมีอยู่หลายชนิด เช่น  ฝุ่น  ขี้เถ้า  เขม่า  ฟูม  ละออง
2.ก๊าซและไอต่าง ๆ  เช่น  ออกไซด์ต่าง ๆ ของคาร์บอน  ออกไซด์ของไนโตรเจนในอากาศที่สำคัญ ๆ   ไฮโดรคาร์บอนต่าง ๆ  

แหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ
มลพิษทางอากาศจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเป็นอันตรายต่อคนไทยน้อยมากเพราะแหล่งกำเนิดอยู่ไกล เช่น ฝุ่นละอองจากพายุ ภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว หรือ ไฟไหม้ป่า ปริมาณสารพิษที่เข้าสู่สภาพแวดล้อมของมนุษย์และสัตว์มีน้อยกว่าการกระทำของมนุษย์ มนุษย์เป็นต้นเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศมากที่สุด  แหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ ได้แก่ 
การคมนาคมขนส่ง เกิดจากยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ เช่น รถยนต์ เครื่องบิน
ยานพาหนะที่เพิ่มขึ้นจำนวนมากนี้ ทำให้มีไอเสียออกสู่บรรยากาศอย่างมากมาย  ได้แก่

1.การคมนาคมทางบก   เช่น

            ทางรถยนต์
ถนนสายหลักในทวีปอเมริกาใต้ คือ ทางหลวงสายแพนอเมริกา [Pan-American Highway] เป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อตั้งแต่มลรัฐอะแลสกาประเทศสหรัฐอเมริกา ลงมาถึงเมืองซันติโกทางภาคใต้ของประเทศชิลี โดยมีเส้นทางตัดเชื่อมไปยังเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศต่างๆ ในทวีปอเมริกาใต้มากกว่า 17 เมือง

รถราง
กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองเดียวที่มีรถรางชมเมือง ซึ่งประกอบด้วย 2 เส้นทางคือ รถรางสายรอบกรุงรัตนโกสินทร์และรถรางเยาวราชปิดบริการชั่วคราว) โดยความจริงแล้วในภาษาอังกฤษรถราง Tram หมายถึง รถที่ใช้ระบบไฟฟ้าเท่านั้น แต่ในประเทศไทย ได้นำคำนี้มาใช้กับบริการรถเมล์ทัวร์รอบเมืองจึงถือเป็น ระบบถนนไม่ใช่ระบบราง

          รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน
กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองเดียวที่มีระบบรถไฟฟ้า ซึ่งประกอบด้วย 3 ระบบ คือ รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้ามหานคร และรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในอนาคต อาจมีความยาวเกือบ 400 กิโลเมตร ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล นอกจากนี้ ยังมีโครงรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนตามหัวเมืองในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ ที่ส่วนใหญ่อยู่ระหว่างการศึกษาและออกแบบโครงการ

2. การคมนาคมทางน้ำ   

การขนส่งทางน้ำ (Water Transportation) เป็นการขนส่งที่มีต้นทุนต่อหน่วยต่ำที่สุดในบรรดาทางเลือกการขนส่งทั้งหมด ไม่จำเป็นต้องสร้างเส้นทางขึ้นมา อาศัยเพียงเส้นทางที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติเป็นสำคัญเช่น คลอง แม่น้ำ ทะเล และมหาสมุทร อย่างไรก็ตามการขนส่งทางน้ำเป็นการขนส่งที่ช้าที่สุด ดังนั้นจึงเหมาะกับสินค้าที่ไม่มีข้อจำกัดเรื่องระยะเวลาส่งมอบสินค้า มักจะเป็นสินค้าที่มีมูลค่าต่อหน่วยต่ำและขนส่งในปริมาณมากๆ เช่น วัสดุก่อสร้างจำพวกอิฐ หิน ปูน ทราย เป็นต้น 


การขนส่งทางน้ำอาจแบ่งย่อยออกเป็น 2 รูปแบบตามลักษณะของเส้นทางขนส่ง ได้แก่
การขนส่งทางลำน้ำ (Inland Water Transportation) หมายถึง การขนส่งทางน้ำที่ใช้สายน้ำในแผ่นดินเป็นเส้นทางขนส่งสินค้า ได้แก่ การขนส่งผ่านคลองและแม่น้ำ เส้นทางการขนส่งทางลำน้ำที่สำคัญของประเทศไทย คือ แม่น้ำโขง เจ้าพระยา ท่าจีน ป่าสัก แม่กลองและบางปะกง แม่น้ำ ลำคลอง เป็นเส้นทางที่ใช้ในการคมนาคมขนส่งทางน้ำภายในทวีปอเมริกาใต้
-  การขนส่งทางทะเล (Sea and Ocean Transportation) หมายถึง การขนส่งทางน้ำที่ผ่านทะเลและมหาสมุทร การขนส่งรูปแบบนี้ต้องใช้เงินลงทุนมหาศาลในการก่อสร้างโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน 

        3. การคมนาคมทางอากาศ

การขนส่งทางอากาศ (Air Transportation) เป็นรูปแบบการขนส่งที่ไปได้ไกลที่สุดและรวดเร็วที่สุด แต่มีต้นทุนต่อหน่วยแพงที่สุด จำเป็นต้องก่อสร้างโครงสร้างสาธารณูปโภคจำนวนมหาศาลเพื่อรองรับรูปแบบการขนส่งทางอากาศทั้งระบบ อีกทั้งต้องอาศัยระบบขนส่งสินค้าทางถนนเพื่อให้สินค้าไปถึงลูกค้าที่ปลายทางตามพื้นที่ต่างๆ ได้ ปัจจุบันประเทศไทยมีสนามบินที่ให้บริการเชิงพาณิชย์ 35 แห่ง จำแนกออกเป็น
สนามบินระหว่างประเทศ (International Airports) ดำเนินการโดยบริษัทท่าอากาศยานไทยจำกัด (มหาชน) จำนวน 6 แห่ง ได้แก่ สนามบินดอนเมือง สุวรรณภูมิ เชียงใหม่ เชียงราย ภูเก็ต และหาดใหญ่จังหวัดสงขลา ปริมาณการขนส่งสินค้าของประเทศไทยเกือบทั้งหมดผ่านท่าอากาศยานเหล่านี้
- สนามบินภายในประเทศ (Domestic Airports) เกือบทั้งหมดบริหารโดยกรมการขนส่งทางอากาศ กระทรวงคมนาคม ยกเว้นสนามบินสุโขทัย สมุยและระนอง ซึ่งบริหารโดยบริษัท การบินกรุงเทพ จำกัดนอกจากนี้ยังมีสนามบินอู่ตะเภา จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นของกองทัพเรือ

              4. การขนส่งทางท่อ 

                   การขนส่งทางท่อ  เป็นระบบการขนส่งที่มีลักษณะเฉพาะเนื่องจากสินค้าที่ขนส่งต้องอยู่ในรูปของเหลว เป็นการขนส่งทางเดียวจากแหล่งผลิตไปยังปลายทาง ไม่มีการขนส่งเที่ยวกลับสินค้าที่นิยมขนส่งทางท่อ ได้แก่ น้ำ น้ำมันดิบ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ ในส่วนของน้ำมันนั้น มีผู้ให้บริการขนส่งน้ำมันทางท่ออยู่ 2 ราย ได้แก่ บริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด และบริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด

                   โรงงานอุตสาหกรรม  เป็นแหล่งสำคัญที่ปล่อยสิ่งเจือปนออกมาสู่บรรยากาศทำให้อากาศเสีย  โดยการใช้เครื่องจักรหรือแรงคน เพื่อให้ผลิตได้ครั้งละมากๆ จนสามารถนำไปขายเป็นสินค้าได้ การแยกประเภทอุตสาหกรรม อาจทำได้

      ขบวนการผลิตที่ทำให้เกิดฝุ่น ขบวนการผลิตที่ทำให้เกิดฝุ่น เช่น ฝุ่นละออง การบด การก่อสร้าง โรงโม่หิน เป็นต้น

      กิจกรรมด้านการเกษตรกรรม เช่น การฉีดยาฆ่าแมลง ยาปราบวัชพืช การเผาไร่นา ทำให้เกิดฝุ่นละอองและสารพวกไฮโดรคาร์บอน  เกษตรกรรมยังคงเป็นอุตสาหกรรมที่เป็นอันตราย และเกษตรกรทั่วโลกยังคงมีความเสี่ยงสูงของการบาดเจ็บที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน โรคปอด การสูญเสียการได้ยินเนื่องจากเสียงรบกวน โรคผิวหนัง อีกทั้งโรคมะเร็งบางชนิดที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารเคมีและการสัมผัสแสงแดดเป็นเวลานาน ในฟาร์มอุตสาหกรรม การบาดเจ็บมักเกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องจักรกลการเกษตร และสาเหตุหนึ่งของการบาดเจ็บร้ายแรงเนื่องจากการเกษตรในประเทศที่พัฒนาแล้วคือรถแทรกเตอร์พลิกคว่ำสารกำจัดศัตรูพืชและสารเคมีอื่นๆที่ใช้ในการทำฟาร์มยังสามารถเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงาน และการที่คนงานสัมผัสกับ สารกำจัดศัตรูพืชอาจประสบปัญหาการเจ็บป่วยหรือมีบุตรที่มีความพิการแต่กำเนิด 

       การระเหยของก๊าซบางชนิด
สามารถแบ่งออกเป็น 3 แหล่งใหญ่ๆ ดังนี้
1. แหล่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรม การจราจร การเผาขยะมูลฝอย การผลิตพลังงานไฟฟ้า การใช้เชื้อเพลิงภายในบ้าน ฯลฯ
2. แหล่งธรรมชาติ ได้แก่ การระเบิดของภูเขาไฟ ไฟไหม้ป่า การเน่าเปื่อย การหมัก การปลิวกระจายของดิน ฯลฯ
3. แหล่งกำเนิดอื่นๆ ได้แก่ แหล่งที่เกิดปัญหามลพิษทางอากาศจากการรวมตัวทางปฏิกิริยาเคมีจากแหล่งต่างๆ ซึ่งจะทำให้เกิดการรวมตัวทางเคมี เช่น  การเกิดปฏิกิริยา photochemical  smog  ฝนกรด อนุภาคซัลเฟตและไนเตรท โดยทั่วไป


      ขยะมูลฝอยและของเสีย เช่น กองขยะ การเผาขยะ   จากการที่จำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้สภาพความเป็นอยู่ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมการอุปโภคบริโภคสินค้า การเพิ่มขึ้นของชุมชน การขยายตัวของที่อยู่อาศัย การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ทำให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นจำนวนมาก มีของเสียเหลือทิ้งออกมาในรูปต่างๆ เจือปนอยู่ในสิ่งแวดล้อม ซึ่งทำให้ความสมดุลของธรรมชาติสูญเสียไป

        ผลกระทบมลพิษทางอากาศ
1 มลพิษของอากาศที่มีต่อบรรยากาศ 
2. มลพิษทางอากาศที่มีผลต่อพืช
3. มลพิษทางอากาศที่มีผลต่อสัตว์
4. ผลต่อวัตถุและทรัพย์สิน
5. มลพิษทางอากาศที่มีผลกระทบทางด้านสุขภาพ
6. มลพิษทางอากาศที่มีผลกระทบทางด้านสุขภาพจากมลพิษทางอากาศโดยทั่วไป
7. มลพิษที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัวมนุษย์เสียไป
8.มลพิษทางอากาศที่มีผลกระทบด้านนิเวศวิทยา แถบขั้วโลกได้รับผลกระทบมากสุดและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย
9. มลพิษที่มีผลกระทบด้านเศรษฐกิจ รัฐที่เป็นเกาะเล็ก ๆ ของทวีปอเมริกาจะได้รับผลจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นกัดกร่อนชายฝั่ง 
         การควบคุมฝุ่นละออง
แหล่งที่มาของฝุ่นละอองในบรรยากาศ โดยทั่วไปจะแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ
1. ฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ (Natural Particle) เกิดจากกระแสลมที่พัดผ่านตามธรรมชาติ ทำให้เกิดฝุ่น เช่น ดิน ทราย ละอองน้ำ เขม่าควันจากไฟป่า ฝุ่นเกลือจากทะเล
2. ฝุ่นละอองที่เกิดจากกิจกรรมที่มนุษย์ (Man-made Particle)
2.1 การคมนาคม
2.2 การก่อสร้าง
2.3 การขนส่งวัสดุ
2.4 โรงงานอุตสาหกรรม

        การตรวจวัดสารมลพิษทางอากาศ
ประเทศต่างๆ มีระบบกฎหมายและกฎระเบียบของตัวเองทางด้านมลสารเพื่อปกป้องสุขภาพของประชาชน และเพื่ออนุรักษ์สภาวะแวดล้อมที่ใช้อยู่อาศัย เพื่อให้กฎหมายและกฎระเบียบเหล่านี่ทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิผล เป็นการจำเป็นที่จะต้องติดตามตรวจวัด (monitor) ความเข้มข้นของสารในอากาศที่ออกจากแหล่งปล่อย และที่มีอยู่ในบรรยากาศโดยวิธีตรวจวัดที่แม่นยำและดีพอ

หลักเบื้องต้นในการตรวจวัดสารมลพิษทางอากาศ
       การตรวจวัดความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศ เป็นงานที่ต้องการความประณีตและความถูกต้อง ทั้งนี้เนื่องจากความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศมีค่าความเข้มข้นต่ำ อยู่ในระดับส่วนพันล้านส่วน (ppb)

การเก็บตัวอย่างและการตรวจวัด
      1.การเก็บตัวอย่า (sampling) เป็นการเก็บรวบรวมสิ่งที่ต้องการเพื่อนำไปวิเคราะห์และทดสอบ
       2. การติดตามตรวจวัด (monitoring) เป็นการเก็บตัวอย่างและตรวจวัดสารมลพิษทางอากาศเป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งจากแหล่งกำเนิดที่เฉพาะเจาะจง

การตรวจวัดสารมลพิษทางอากาศ
             การตรวจวัดสารมลพิษทางอากาศจำแนกออกได้ตามวัตถุประสงค์และลักษณะของสารมลพิษนั้น สามารถจำแนกเป็นกลุ่ม  ดังนี้
1.การตรวจวัดสารมลพิษทางอากาศในบรรยากาศหรือภายนอกอาคาร (ambient or outdoor air sampling) เพื่อตรวจวัดระดับความเข้มข้นเปรียบเทียบกับมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศ
2.การตรวจวัดสารมลพิษทางอากาศที่ระบายจากแหล่งกำเนิด (source air sampling) ได้แก่ การระบายสารมลพิษทางอากาศจากปล่องควัน (stack) และจากท่อไอเสียของยานพาหนะ เป็นต้น
3.การตรวจวัดสารมลพิษทางอากาศภายในสถานประกอบการหรือภายในอาคาร (industrial or indoor air sampling)
4.การตรวจวัดสารมลพิษทางอากาศเพื่อศึกษาผลกระทบเฉพาะบุคคล (personal air sam-pling)
5.การตรวจวัดเพื่อควบคุมประสิทธิภาพของเครื่องหรืออุปกรณ์บำบัดสารมลพิษทางอากาศ

          ปัจจัยทางด้านอุตุนิยมวิทยาต่อคุณภาพอากาศ

  การจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านอากาศ (Air Quality Management)
                จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมดในเบื้องต้น ได้แสดงให้เห็นถึงส่วนประกอบของระบบของภาวะมลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้น ที่จะกล่าวต่อไปนี้ จะเกี่ยวกับการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านอากาศ (Air Quality Management) ซึ่งจะนำไปสู่การควบคุม ป้องกัน และแก้ไขภาวะมลพิษทาง
อากาศ เพื่อให้ได้มาซึ่งคุณภาพอากาศที่ดี

 เกณฑ์คุณภาพอากาศ  (Air Quality Criteria)  เป็นเกณฑ์ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลและผลการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ซึ่งบ่งบอกถึงผลเสียหายและอันตรายของสารมลพิษทางอากาศแตะละชนิดที่จะเกิดขึ้น หากสัมผัสกับสารมลพิษทางอากาศนั้น ๆ ที่ระดับความเข้มข้นและระยะเวลาสัมผัสต่าง ๆ กัน ดังนั้น เกณฑ์คุณภาพอากาศจะมีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ 

มาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศ   (Ambient Air Quality Standard) คือ เป้าหมายระดับคุณภาพอากาศ (Air Quality Goals) ที่ต้องการ ซึ่งแสดงอยู่ในรูปของความ เข้มข้นเฉลี่ยในช่วงระยะเวลาที่กำหนดไว้ ซึ่งสารมลพิษทางอากาศแต่ละชนิดที่ยอมให้มีได้ในบรรยากาศหรืออาจจะจำกัดจำนวนครั้งที่ยอมให้มีระดับเกินมาตรฐานในช่วงระยะเวลาที่กำหนดในการกำหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศจะใช้ข้อมูลเกณฑ์คุณภาพอากาศเป็นพื้นฐานหลักแก่อาจจะต้องใช้ปัจจัยอื่น ๆ ประกอบด้วย 

มาตรฐานอากาศเสียจากแหล่งกำเนิด (Emission Standards)
      เป็นระดับจำกัดของปริมาณหรือความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศชนิดต่าง ๆ ที่ยินยอมให้ระบายออกจากแหล่งกำเนิดแต่ละประเภท การกำหนดมาตรฐานอากาศเสียจากแหล่งกำเนิด สามารถทำให้ 2 ลักษณะ ดังนี้ 
1.   ใช้เกณฑ์คุณภาพอากาศและมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศเป็นเกณฑ์เป็นการกำหนดมาตรฐานอากาศเสียจากแหล่งกำเนิด
2.   ใช้เทคโนโลยีการควบคุมเกณฑ์ เป็นการกำหนดมาตรฐานอากาศเสียจากแหล่งกำเนิด

การติดตามตรวจสอบการระบายอากาศเสียจากแหล่งกำเนิด    (Emission Inventory หรือ Emission Surveillance) เพื่อเป็นการควบคุมการระบายสารมลพิษ ทางอากาศจากแหล่งกำเนิดต่าง ๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐานอากาศเสียจากแหล่งกำเนิดที่กำหนดไว้ 

การติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศในบรรยากาศ (Air Quality Surveillance) 
เป็นการติดตามตรวจวัดความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศชนิดต่าง ๆ ในบรรยากาศเป็นประจำสม่ำเสมออย่างต่อเนื่อง

การติดตามตรวจสอบภาวะทางอุตุนิยมวิทยา (Meteorological Surveillance)  โดยปกติแล้วจะทำการติดตามตรวจสอบสภาวะทางอุตุนิยมวิทยาไปพร้อม ๆ กับการติดตามตรวจ สอบคุณภาพอากาศในบรรยากาศ

             การติดตามตรวจสอบผลเสียหายหรืออันตรายที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ    (Air Pollution Effects Surveillance) เป้าหมายสุดท้ายของการดำเนินการให้มีการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านอากาศ คือ การปกป้องสุขภาพอนามัยของคนเราและสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ไม่ให้ได้รับอันตรายจากมลพิษทางอากาศ 

การดำเนินการควบคุมมลพิษทางอากาศ   (Air Pollution Control Activities)  เป็นการกำหนด ดำเนินการ และบังคับใช้มาตรการต่าง ๆ ในทางปฏิบัติ

การประชาสัมพันธ์ (Public Relations) จากที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น จะเห็นได้

ว่าระบบของภาวะมลพิษทางอากาศมีความเกี่ยวข้องกับคนเป็นอย่างมาก การเกิดภาวะมลพิษทางอากาศส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการกระทำของคน



การควบคุมก๊าซและไอ

ปัญหามลพิษทางอากาศ เนื่องจากปัญหาเรื่องอากาศนับวันจะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของความเจริญเติบโตของเมือง การอุตสาหกรรม โดยเฉพาะตามเมืองใหญ่ ซึ่งมีการจราจรหนาแน่น มีโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมาก มีประชากรอาศัยอยู่แออัด จำเป็นต้องมีการป้องกันแก้ไข และควบคุมโดยตรงที่แหล่งกำเนิดมลพิษและดำเนินการปฎิบัติอย่างจริงจังโดยหน่วยงานของ ภาครัฐ ที่มีหน้าที่ควบคุมดูแลแหล่งกำเนิดมลพิษ เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมโรงงานอุตสาหกกรม กระทรวงคมนาคมโดยกราขนส่งทางบก และการเจ้าท่า กระทรวงมหาดไทยโดยกรมการปกครอง และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมอนามัย เป็นต้น โดยมีแนวทางแก้ไขปัญหา ดังนี้
 1.    ภาครัฐ 
 2.    ภาคเอกชน

การควบคุมก๊าซและไอยานพาหนะ

           การจัดการ (Management)
มาตรการตั้งแต่การออกแบบ การดำเนินการ การดูแลรักษา และการปฏิบัติอื่น ๆ นั้นสามารอื่น ๆ นั้นสามารถที่จะลดการปล่อยออกได้ การปรับปรุงการสันดาปให้มีประสิทธิภาพ จำนวนของผลิตภัณฑ์ที่มีการสันดาปไม่สมบูรณ์ ส่วนประกอบของอนุภาคสารสามารถที่จะลดลงการทำให้เกิดการเติมเชื้อเพลิงที่เหมาะสม และรูปแบบของห้องการสันดาปตามด้วยการให้มีอากาศพอเพียง

การสันดาปเชื้อเพลิง
การควบคุมการสันดาปนี้มีกลยุทธ์ 3 ประการ คือ
1. ลดอุณหภูมิสูงสุดในโซนของการสันดาป
2. การลดระยะเวลาการคงอยู่ของแก็สในบริเวณที่อุณหภูมิสูงและ
3. การลดความเข้มข้นของออกซิเจนในบริเวณที่มีการสันดาป การเปลี่ยนแปลงกระบวนการสันดาปเหล่านี้อาจจะทำให้สำเร็จไม่ว่าจะเป็นการดัดแปลงกระบวนการหรือโดยดัดแปลงสภาวะการดำเนินงานเตาเผาที่มีอยู่
ปฎิกริยาพื้นฐานของการสันดาปสมบูรณ์

การเปลี่ยนปฏิกิริยาเคมี
การเปลี่ยนปฏิกิริยาเคมีเพื่อลดสารปนเปื้อนซึ่งรวมถึงปฏิกิริยาเคมีที่ใช้ในการสันดาปเชื้อเพลิงด้วยการเปลี่ยนชนิดของเชื้อเพลิงเพื่อผลในกรเปลี่ยนแปลงปฏิกิริยาเคมีในการสันดาปเชื้อเพลิงด้วย เช่น โรงงานผลิตกำมะถันซึ่งใช้วิธีการผลิตแบบกระบวนการสัมผัสชั้นเดียวซึ่งจะทำให้มีซัลเฟอร์ไดออกไซด์ถูกปล่อยออกมาประมาณ 2,000-3,000 พีพีเอ็ม แต่เมื่อเปลี่ยนมาใช้วิธีการผลิตแบบกระบวนการสัมผัสแบบสองชั้นจะทำให้เหลือซัลเฟอร์ไดออกไซด์ออกมาจากปฏิกิริยาเพียง 400-500 พีพีเอ็ม

การระเหย
กระบวนการหรือวิธีการที่ต้องใช้ควบคุมการระเหยอาจจะทำให้ลดปริมาณการปล่อยสารมลพิษที่ถูกปล่อยออกมาจากการระเหยได้ เช่น โรงงานผลิตกรดดินประสิว ถ้าใช้การดูดกลืนที่ความดันปกติจะทำให้ปริมาณของแก็สไนโตรเจนออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกมาถึงประมาณ 1,500-2,500 พีพีเอ็ม แต่ถ้าให้มีการดูดกลืนภายใต้ความดันสูงและมีการหล่อเย็นป้องกันการระเหย จะทำให้ปริมาณของไนโตรเจนออกไซด์ลดลงเหลือประมาณ 500 พีพีเอ็ม

             การเลือกเชื้อเพลิง (choice of fuel)
              การลดการปล่อยออกของอนุภาคสารหรือสารมลพิษทางอากาศนั้นสามารถทำได้ด้วยการใช้เชื้อเพลิงที่สะอาดกว่า เช่น การเลือกใช้แก็สธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงที่ทำให้เกิดอนุภาคสารในอากาศน้อยมาก การใช้น้ำมันอาจจะให้อนุภาคมลสารออกมามากพอสมควรแต่ก็น้อยกว่าเชื้อเพลิงที่เป็นถ่านหิน โดยเฉพาะปริมาณขี้เถาหรือเหลือสารตกค้างพวกที่ไม่เกิดการสันดาปได้น้อยกว่าการใช้เชื้อเพลิงถ่านหิน การใช้น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วทำให้ไม่เกิดมลพิษที่เป็นตะกั่วการใช้น้ำมันเบนซินแทนน้ำมันดีเซลหรือน้ำมันเตาจะให้มลพิษที่เป็นออกไซด์ของซัลเฟอร์น้อยกว่ากระบวนการสันดาปน้ำมันกลั่นเบา (lighter) 

การติดตั้งอุปกรณ์เพื่อควบควมมลพิษจากท่อไอเสีย โดยแยกประเภทรถ ดังนี้
1.รถยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซิลไร้สารตะกั่ว ติดตั้ง Catalytic converters
2.รถยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซล ติดตั้งเครื่องกรองควันดำ

กลไกรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซิลไร้สารตะกั่ว ติดตั้งโดย Catalytic converters


การควบคุมก๊าซและไอโรงงานอุตสาหกรรม


             ห้องตะกอน


ห้องตกตะกอนเป็นวิธีพื้นฐานที่เก็บฝุ่นขนาดใหญ่ไว้ในที่จำกัดไม่ให้ฟุ้งกระจายจนอากาศนิ่งและฝุ่นหนักลงสู่พื้น การเลือกใช้อุปกรณ์สำหรับกำจัดสารมลพิษนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างได้แก่ ประสิทธิภาพที่ต้องการในการกำจัด คุณสมบัติของสารมลพิษ เช่น อุณหภูมิ ความชื้อ การละลาย ขนาดของอนุภาคความเข้มข้น ปริมาณของสารมลพิษและลักษณะของขบวนการผลิต ดังนั้น จึงแยกอุปกรณ์กำจัดสาร  

              แยกอุปกรณ์กำจัดสาร   มลพิษได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
             1. อุปกรณ์กำจัดฝุ่นหรืออนุภาค ได้แก่
-ไซโคลน (Cyclone) เครื่องเก็บฝุ่นด้วยแรงไฟฟ้าสถิต (Electrostatic precipitators) การใช้แรงดึงดูกระแสไฟฟ้าสถิตด้วยการทำให้อนุภาคที่อยู่ในแอโรซอลแสดงอำนาจของประจุไฟฟ้าแล้วทำการแยกอนุภาคด้วยใช้แรงดึงดูที่มีประจุตรงข้ามกันเข้าไว้ปล่อยให้อากาศจาการสารปนเปื้อนไหลออกสู่บรรยากาศ 
2.อุปกรณ์กำจัดก๊าซและไอระเหย ได้แก่
             -สครับเบอร์หรือเครื่องดูดซึมด้วยของเหลว (Wet scrubber)
             -เครื่องดูดซับบนของแข็ง (Adsorption)
             -เตาเผา (After burner) 

สครับเบอร์หรือเครื่องดูดซึมด้วยของเหลว (Wet scrubber)

          มาตราฐานคุณภาพอากาศ
              มาตรฐานคุณภาพอากาศได้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อประโยชน์ต่อการใช้กฎหมายเพื่อการควบคุมดูแลคุณภาพอากาศทั้งในบรรยากาศและในสถานที่ประกอบหรือบริเวณที่อาศัยให้อยู่ในระดับที่เกิดความปลอดภัย โดยเฉพาะต้องคำนึงถึงสุขภาพอนามัย ในการกำหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศเพื่อความสะดวกต่อการดำเนินการควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัยมักกำหนดเป็นมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศและมาตรฐานคุณภาพอากาศจากแหล่งกำเนิด

มาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศ (Ambient Air Quality Standards) ในการกำหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศคำนึงถึงการที่จะควบคุให้คุณภาพของอากาศในบรรยากาศมีความเหมาะสมต่อการดำรงชีพของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆเพราะถ้าหากปล่อยให้คุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วๆ ไปเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายแก่มนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ย่อมจะก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศได้ มาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศจึงได้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อที่จะให้หน่วยงานของรัฐซึ่งเกี่ยวข้องกับการควบคุมคุณภาพอากาศให้เป็นมาตรการสำหรับตรวจสอบและควบคุมดูแลให้สภาพแวดล้อมของบรรยากาศอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศ


                กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศเป็นสิ่งที่จัดทำขึ้นหรือกำหนดขึ้นมา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการดำรงกลยุทธและบังคับใช้มาตรการต่างๆ ที่ได้วางไว้ ให้มีประสิทธิผลในทางปฏิบัติ ซึ่งจะนำไปสู่การควบคุมและแก้ไขภาวะมลพิษทางอากาศ เพื่อรักษาอากาศให้มีคุณภาพที่ดี ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยและความผาสุกของประชาชน ตลอดจนไม่ทำให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งมีชีวิตและสภาวะแวดล้อมต่างๆ

มาตรา 64 – มาตรา 67     
ห้ามมิให้นำยานพาหนะที่ก่อให้เกิดมลพิษเกินกว่ามาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิดมาใช้ โดยให้ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้ยานพาหนะหยุด เพื่อตรวจสอบเครื่องยนต์และอุปกรณ์ของยานพาหนะนั้น และ มีอำนาจสั่งห้ามใช้ยานพาหนะนั้นโดยเด็ดขาดหรือจนกว่าจะได้มีการแก้ไขปรับปรุงให้เป็นไปตามมาตรฐานโดย การทำเครื่องหมาย ให้เห็นปรากฏเด่นชัด  ห้ามใช้เด็ดขาด  หรือ  ห้ามใช้ชั่วคราว  ณ ส่วนใดส่วนหนึ่งของยาน พาหนะ
ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่ง ห้ามใช้ยานพาหนะของพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท
 (มาตรา 102)

มาตรา 81     
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมรายงานดังกล่าวส่งให้เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษที่อำนาจหน้าที่ในเขตท้องถิ่นนั้น เป็นประจำอย่างน้อยเดือนละครั้ง

มาตรา 83     
เพื่อประโยชน์ในการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการควบคุมมลพิษทางอากาศ ให้เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษอาจเสนอแนะการสั่งปิด หรือพักใช้ หรือเพิกถอนใบอนุญาต หรือการสั่งให้ หยุดใช้ หรือทำประโยชน์เกี่ยวกับแหล่งกำเนิดมลพิษที่ต้องถูกควบคุมการปล่อยอากาศเสีย ตามาตรา 68 ที่จงไม่บำบัดอากาศเสียและลักลอบปล่อยทิ้งอากาศเสียออกสู่บรรยากาศต่อเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจควบคุมดูแลแหล่งกำเนิดมลพิษนั้นตามกฎหมาย   
                                                                                                                                                                        การควบคุมมลพิษจากยานยนต์   
แบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่ การควบคุมมลพิษทางเสียง และการควบคุมมลพิษทางอากาศ

1. การควบคุมมลพิษทางเสียงจากยานยนต์
                เสียงดัง เป็นปัญหาที่พบในเขตชุมชนและพื้นที่พัฒนาต่างๆ  ที่มีการขยายตัวของการคมนาคมขนส่งโดยเฉพาะกรุงเทพมหานครที่ประสบปัญหาอย่างต่อเนื่อง


มาตรฐานระดับเสียงโดยทั่วไป กำหนดค่าระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ไม่เกิน 70 เดซิเบล ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ประเมินอันตรายต่อการได้ยินจากการได้รับเสียงอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน


                           ระดับเสียงริมถนนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ปี 2540- 2548

 สัดส่วนรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์เบนซินที่มีมลพิษทางเสียงเกินมาตรฐานในเขตกรุงเทพมหานครปี 2548

2. การควบคุมมลพิษทางอากาศจากยานยนต์
1) การออกกฎหมายควบคุม ทางหน่วยงานของรัฐได้ออกกฎหมายเพื่อควบคุมมลพิษทางอากาศให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ดังต่อไปนี้
• พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ . 2535
• พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535
• พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
• พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535
• พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535
• ประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
• กฎกระทรวงต่าง ๆ
2) การกำหนดมาตรฐาน (Air Quality Standards Control)   ถูกกำหนดขึ้นเพื่อประโยชน์ต่อการใช้กฎหมายเพื่อการควบคุมดูแลคุณภาพอากาศทั้งในบรรยากาศและในสถานที่ประกอบการหรือบริเวณที่อยู่อาศัยให้อยู่ในระดับที่เกิดความปลอดภัย

ฐานความรู้การจัดการกลิ่น
                          กลิ่นเป็นปัญหามลพิษอากาศที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญและเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยาก เพื่อให้ผู้ประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีแนวทางในการแก้ปัญหาเรื่องกลิ่น กรมควบคุมมลพิษร่วมกับสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้จัดทำฐานความรู้เรื่องกลิ่นเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้นำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาเรื่องกลิ่นต่อไป

แหล่งกำเนิดกลิ่น
 1. แหล่งกำเนิดกลิ่นจากโรงงานอุตสาหกรรม
             กลิ่นที่เกิดจากอุตสาหกรรมมีมากมายหลายประเภท สารที่ทำให้เกิดกลิ่นมีหลายชนิดส่วนใหญ่นั้นมักเป็นประเภทสารประกอบอินทรีย์ที่ระเหยง่าย (Volatile Organic compounds) ที่ใช้ในอุตสาหกรรม ตัวอย่างของอุตสาหกรรมที่มักจะทำให้เกิดมีกลิ่นได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรมพลาสติก โรงงานแก้ว โรงงานปลาป่น โรงงานฟอกหนัง โรงงานผลิตเคมีภัณฑ์ ต่างๆ

2.แหล่งกำเนิดกลิ่นจากระบบบำบัดน้ำเสีย
                        2.1 โรงงานบำบัดน้ำเสีย    น้ำเสียที่มีสารอินทรีย์ปนเปื้อนหากทิ้งไว้ไม่บำบัดโดยเร็วทำให้เกิดกระบวนการย่อยสลายโดยแบคทีเรีย เช่น การย่อยโปรตีนทำให้ไนโตรเจนและกำมะถันในโปรตีนเปลี่ยนเป็น แอมโมเนีย และก๊าซไข่เน่า (H2S) ทำให้เกิด กลิ่นเหม็นและน้ำเสียมีสภาพเป็นกรด บางส่วนของไนโตรเจนกลายเป็นกลิ่นคาวจัด
การป้องกันและแก้ไข
1.การแก้ปัญหาชั่วคราวคือ ทำให้น้ำเสียเป็นด่างหรือเป็นกลาง ได้แก่ การเติมปูนขาว เพื่อลดการเกิดก๊าซไข่เน่า (H2S) ซึ่งมีกลิ่นเหม็น แต่เมื่อทิ้งไว้ระยะหนึ่งแบคทีเรียในน้ำเสียจะทำให้น้ำเกิดสภาพเป็นกรดและมีกลิ่นเหม็นได้อีก จึงต้องมีการเติมปูนขาว เพื่อรักษาสภาพความเป็นด่างอยู่เสมอ
2.การบำบัดน้ำเสียสามารถเลือกใช้ระบบแบบไร้อากาศ (Anaerobic) เพื่อย่อยสลายสารอินทรีย์ โดยทำในระบบปิดเป็นการป้องกันไม่ให้กลิ่นระบายออกสู่ภายนอก อาจเลือกใช้ระบบแบบใช้อากาศ (Aerobic) ที่มีระบบรวบรวมและบำบัดกลิ่นประกอบ หรือใช้ทั้ง 2 แบบร่วมกัน
3.ควบคุมกลิ่นที่เกิดขึ้นโดยเลือกใช้วิธีบำบัดตามความเหมาะสม ได้แก่ ระบบการเผาไหม้โดยตรง ระบบ สครับบิง ระบบดูดซับ และระบบชีวภาพ

3.แหล่งกำเนิดกลิ่นจากกิจการอื่น
                       3.1 อู่ซ่อมรถ โรงงานประกอบรถยนต์  ปัญหากลิ่นมักจะเกิดจากการระเหยของ ตัวทำละลาย ซึ่งเป็นสารประเภทไฮโดรคาร์บอนที่ระเหยได้ ซึ่งเป็นส่วนผสมในสี การใช้สีแบบพ่นจะสูญเสียมากกว่าการทาด้วยแปรง การพ่นสีรถ 1 คัน จะสิ้นเปลืองสีที่ไม่ติดวัตถุและกลายเป็นกากสีประมาณ 2 กิโลกรัม  และตัวทำละลายอีก 0.5 กิโลกรัม ควรรวบรวมกากสีและตัวทำละลายเหล่านี้ไปดำเนินการบำบัดต่อไป
 การป้องกันและแก้ไข
1.พิจารณาเลือกสีที่ใช้น้ำเป็น ตัวทำละลายแทน หรือใช้สารละเหยเป็นส่วนผสมน้อยลง
2.ใช้เทคโนโลยีการเคลือบสีที่ไม่ต้องใช้ตัวทำละลาย เช่น Power coating
3.ปิดคลุมแหล่งกำเนิดกลิ่นอย่างมิดชิด
4.ควรมีระบบรวบรวมอากาศที่มีกลิ่นมาบำบัดโดยเลือกใช้วิธีบำบัดตามความเหมาะสม ได้แก่ ใช้แผ่นกรอง Filter ใช้น้ำดักจับ  ระบบการเผาไหม้โดยตรง และระบบดูดซับด้วยถ่านกัมมันต์
                           3.2  โรงพิมพ์  ปัญหากลิ่นในโรงงานประเภทนี้เกิดจากการระเหยของตัวทำละลายในหมึก ได้แก่ Alcohol, Formaldehyde และสารประเภท Volatile Organic Compounds (VOCs) เป็นตัวทำละลายที่มีกลิ่น ซึ่งเป็นสารประเภทไฮโดรคาร์บอน โดยปัญหาเกิดจากกระบวนการพิมพ์เคลือบจากการใช้สีและหมึกในปริมาณมากบนแผ่นโลหะ กระป๋อง และฝาจีบ
การป้องกันและแก้ไข
1.พิจารณาเลือกใช้หมึกที่ใช้น้ำหรือมีสารระเหยน้อยเป็นส่วนผสม
2.เปลี่ยนตัวทำละลายหรือเลือกใช้สารทดแทนที่มี VOC ต่ำ
3.ควบคุมการเก็บหมึกพิมพ์ในภาชนะบรรจุให้มิดชิดเพื่อป้องกันการระเหยของสารที่ทำให้เกิดกลิ่น
4.รวบรวมอากาศที่มีกลิ่นมาบำบัดโดยเลือกใช้วิธีบำบัดตามความเหมาะสม ได้แก่ ระบบการเผาไหม้โดยตรง และระบบดูดซับด้วยถ่านกัมมันต์

องค์ประกอบของกลิ่น
                กลิ่นที่เกิดจากอุตสาหกรรมมีหลายชนิดส่วนใหญ่มักเป็นสารอินทรีย์ที่ระเหยง่าย กลิ่นที่เกิดจากกระบวนการอุตสาหกรรมแต่ละชนิดจะมีลักษณะเฉพาะตัว ความรู้สึกรับรู้กลิ่นจะเพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นของสารที่ทำให้เกิดกลิ่น  การรับรู้กลิ่นและการตอบสนองต่อกลิ่นขึ้นอยู่กับความไวต่อการรับรู้กลิ่น ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล

 ผลกระทบของกลิ่น
             ความรู้สึกต่อกลิ่น การรับรู้กลิ่นและการตอบสนองต่อกลิ่นขึ้นอยู่กับความไวต่อการรับรู้กลิ่นซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ถ้าบุคคลมีความรู้สึกไวต่อกลิ่นก็จะมีปัญหาร้องเรียนเรื่องกลิ่นอยู่เสมอ ในทางตรงข้ามถ้าบุคคลมีความรู้สึกชินต่อกลิ่นก็จะสูดดมกลิ่นโดยไม่รู้สึกว่าเดือดร้อนรำคาญแต่อย่างใด และไม่ได้มีการร้องเรียนเพื่อให้มีการแก้ปัญหาเรื่องกลิ่น ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ความซับซ้อนในเรื่องการตอบสนองของคนที่มีต่อกลิ่นที่จะเห็นได้จากในกรณีที่คนบางคนได้รับกลิ่นบางชนิดเป็นระยะเวลานานก็จะกลายเป็นคนที่มีความรู้สึกช้าต่อกลิ่นนั้น เมื่อเทียบกับคนอื่นที่ไม่เคยได้กลิ่นนั้นมาก่อน 

ความสัมพันธ์ของความเข้มของกลิ่นกับการตอบสนองของคนต่อกลิ่น
                  ความเข้มของกลิ่นมีความสัมพันธ์กับระดับความรู้สึกของประสาทรับกลิ่นที่เกิดขึ้น เมื่อได้กลิ่นสารความรู้สึกรับรู้กลิ่นจะเพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นของสารตัวอย่าง สตีเวนส์ (Stevens; 1961) ได้สร้างสมการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างค่าความรู้สึกถึงความเข้มของกลิ่นที่ได้ และความเข้มข้นของสาร

กฎหมายระเบียบที่เกี่ยวข้อง
                  มาตรฐานคุณภาพอากาศที่เกี่ยวกับกลิ่นในประเทศไทย  ในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีข้อกำหนดทางกฎหมาย หรือค่ามาตรฐานสำหรับการควบคุมปัญหากลิ่นเหม็นจากแหล่งกำเนิดต่าง ๆ โดยตรง มีเพียงกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องในด้านมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งสารมลพิษจากแหล่งกำเนิดและกฎเกณฑ์ในการควบคุมสิ่งที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ 

กฎหมายระเบียบที่เกี่ยวข้อง
มาตรฐานคุณภาพอากาศที่เกี่ยวกับกลิ่นในประเทศไทย
ในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีข้อกำหนดทางกฎหมาย หรือค่ามาตรฐานสำหรับการควบคุมปัญหากลิ่นเหม็นจากแหล่งกำเนิดต่าง ๆ โดยตรง มีเพียงกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องในด้านมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งสารมลพิษจากแหล่งกำเนิดและกฎเกณฑ์ในการควบคุมสิ่งที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ 

6 การแก้ไขปัญหา

การแก้ไขปัญหากลิ่นจากอุตสาหกรรม
1.การป้องกันและลดกลิ่นที่แหล่งกำเนิด
1.1การปรับปรุงกระบวนการผลิต
                              กรณีป้องกันการเกิดกลิ่นจากการบำบัดน้ำเสีย
             การใช้สารเคมีที่ลดกลิ่นชั่วคราว เช่น Hydrogen Peroxide Addition: 50% Solution เติมในน้ำเสียดิบที่เข้าโรงบำบัด ป้องกันกลิ่นก๊าซไข่เน่า ประมาณ 0.20 บาท ต่อ ลบ.เมตรน้ำเสีย หรือ ใช้ Ferrous Chloride ทำปฎิกิริยากับก๊าซจาก Anaerobic Digestor ป้องกันกลิ่นก๊าซไข่เน่า ค่าใช้จ่ายประมาณ คิวบิคเมตรของสลัดจ์ละ 4 บาท
1.2. การใช้วัสดุทดแทน
               เปลี่ยนวัตถุดิบ เช่น โรงงานเคยใช้ของสดที่อาจเน่าเสียระหว่างการเก็บรอการผลิต เช่น กระดูก ก็ควรให้ผู้จัดส่งต้มมาให้สุกเสียก่อน จะได้ไม่เสียเร็วและไม่มีน้ำเสียเกิดขึ้นมากด้วย
1.3. การจัดการในสถานประกอบการ 
              โดยการออกแบบ เช่น กรณีป้องกันการเกิดกลิ่นจากฟาร์ม  Figure 3 - Crust Formation on a Liquid Manure Storage
1.4. การป้องกันโดยใช้ระยะกันชน
             พื้นที่กันชน 'Buffer Zone' โดยรอบเป็นวิธีที่ต้องมีพื้นที่มาก เนื่องจากกลิ่นอาจไปถึงผู้รับที่อยู่ห่างมากได้ตามลม แม้จะมีการเจือจางบ้างก็ตาม พื้นที่กันชนควรเป็นของโรงงานเอง

                      2. ระบบการบำบัดกลิ่น ประเภทระบบบำบัดกลิ่น
1.การออกแบบเบื้องต้น
2.หลักการเลือกระบบบำบัดกลิ่นที่เหมาะสม
3.การประเมินค่าใช้จ่ายของการบำบัดกลิ่น
4.การป้องกันและลดกลิ่นที่แหล่งกำเนิด